Our Pride

1.1. ความหมายของ TPM

ระบบการบำรุงรักษาแบบทวีผลโดยทุกคนมีส่วนร่วม

T

Total

พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรม
P

productive

ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดย

  • ลดการสูญเสียเวลา
  • ทรัพยากร (วัตถุดิบ อุปกรณ์ เครื่องจักร แรงงาน)
M

maintenance / management

การบำรุงรักษา หรือการจัดการระบบทั้งหมด
(ไม่ใช่แค่กิจกรรมบำรุงรักษาเครื่องจักรอุปกรณ์เท่านั้น)

1. การสร้างความร่วมมือจากทุกฝ่าย เพื่อทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตมีค่าสูงสุด 

2. การป้องกันการสูญเสียทุกประเภท โดยพนักงานระดับปฏิบัติการเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ (เพื่อให้มั่นใจว่า เครื่องจักรขัดข้องเป็นศูนย์, อุบัติเหตุเป็นศูนย์ และของเสียเป็นศูนย์)

3. ทุกหน่วยงานมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน TPM รวมทั้งฝ่ายวิจัยและพัฒนา, ฝ่ายขาย และสำนักงาน  

4. ทุกๆ คนในองค์กรมีส่วนร่วม ตั้งแต่ผู้บริหารสูงสุด จนถึงพนักงานระดับปฏิบัติการ

5. ดำเนินกิจกรรมกลุ่มย่อยเพื่อลดการสูญเสียให้หมดไป

1.2. เป้าหมายของ TPM

การตั้งเป้าหมายของ TPM เพื่อใช้ในการวัดระดับความสำเร็จในการทำกิจกรรม เพื่อให้ทุกคนในองค์กรทำงานไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีเป้าหมาย คือ
zero
Breakdown
เครื่องจักรขัดข้องเป็นศูนย์
Accident
อุบัติเหตุเป็นศูนย์
Defect
ของเสียเป็นศูนย์

1.3. ประโยชน์ที่จะได้รับจากกการทำกิจกรรม TPM

1. สร้างผลกำไรจากการลดความสูญเสีย
2. พัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบ
3. เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ จากการปรับปรุงของบุคลากรทุกระดับในองค์กร

1.4. 8 เสากิจกรรมหลักของ TPM

การดำเนินงาน TPM ให้ประสบผลสำเร็จได้จะต้องมีการดำเนินกิจกรรมหลัก 8 ข้อ ซึ่งจะครอบคลุมทุกหน่วยงานและทุกๆ คน ที่มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม

1. am

การบำรุงรักษาด้วยตนเอง

รักษาสภาพเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพที่ดี และสร้างระบบป้องกันปัญหาคุณภาพ เครื่องจักรเสีย และอุบัติเหตุโดยสมบูรณ์  

2. FI

การปรับปรุงเฉพาะเรื่อง

เพื่อกำจัดหรือลดการสูญเสียทุกประเภท  

3. PM

การบำรุงรักษาเชิงวางแผน

พัฒนาระบบการบำรุงรักษา และมุ่งสู่กิจกรรมทำให้ปัญหาเครื่องจักรเสียเป็นศูนย์  

4. ET

เสาฝึกอบรม

ยกระดับระบบการพัฒนาความรู้และทักษะของพนักงาน  

5. QM

การบำรุงรักษาเชิงคุณภาพ

สร้างระบบป้องกันปัญหาคุณภาพ  

6. IM

การควบคุมดูแลขั้นต้น

พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ออกแบบ และติดตั้งชิ้นส่วนใหม่ เครื่องจักรใหม่ให้เป็นเรื่องง่าย  

7. OI

การปรับปรุงสำนักงาน

ลดความสูญเสีย และเพิ่มประสิทธิภาพในงานสำนักงาน  

8. SE

ดำเนินกิจกรรมด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม

ส่งเสริมกิจกรรมด้านความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม

2. ความเป็นมาในการนำ TPM เข้ามาใช้ในบริษัท

2.1. เหตุผลและความจำเป็น 

NS-SUS (โรงงาน 1) ได้เริ่มดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2542 มาจนถึงปี พ.ศ. 2546 พบว่า ปัญหาการเสียของเครื่องจักรและคุณภาพเพิ่มขึ้นอย่างมากในปี พ.ศ. 2547  

จากการวิเคราะห์ปัญหา พบว่าเป้าหมายของระบบ TPM จะสามารถแก้ไขปัญหาขององค์กรได้ ผู้บริหารระดับสูงจึงตัดสินใจนำระบบ TPM มาประยุกต์ใช้เมื่อปี พ.ศ. 2548

2.2. TPM Kick-off

จัดงานเปิดตัวการทำกิจกรรม TPM (Kick-off TPM) อย่างเป็นทางการเมื่อ 12 พ.ค. 2548

2.3. The NS-SUS Way

บริษัทได้ดำเนินกิจกรรม TPM ผ่าน 8 เสากิจกรรมหลัก จนถึงปี 2013 ในปี 2013 บริษัทได้กำหนด NS-SUS Way ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อยกระดับระบบการบริหาร มีจุดประสงค์ให้เป็นกรอบของกลยุทธ์ (Strategic Framework) เพื่อ serve vision ของบริษัท

"Become the leading steel provider for better life with advanced technologies and innovation"

โดยเพิ่ม 3 เสากลยุทธ์หลัก (3 Strategic Pillars)

1. LEAN Pillar : การลดค่าใช้จ่ายโดยมุ่งกำจัดความสูญเสียและของเสีย เช่น  ลดขั้นตอนในกระบวนการผลิต ลดเวลาในการปรับตั้งเครื่องจักร
2. Innovation Pillar : นวัตกรรมในการปรับปรุงงานอย่างรวดเร็วเพื่อลดความสูญเสีย หรือเพิ่มคุณค่า / ประสิทธิภาพของงาน
3. SCM (Supply Chain Management) Pillar : การเพิ่มประสิทธิภาพในระบบซัพพลายเชนเพื่อลดต้นทุน ลด Lead Time และลด Inventory 

โดยใช้ TPM 8-Pillars เป็นฐาน เพิ่มเสา E2 (Energy & Envi) การจัดการด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เป็นเสาที่ 9 และเสาทั้ง 9 serve 3 เสากลยุทธ์  ทำงานเชื่อมโยงกัน  เพื่อให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Endless Improvement)

3. รางวัลแห่งความสำเร็จ 

Roadmap to Manufacturing Excellence เส้นทางสู่ความเป็นเลิศด้านการผลิต

NS-SUS นำ TPM มาใช้เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2005 ในช่วง 16 ปีของการดำเนินการ TPM นี้ เราสามารถบรรลุระดับ TPM World Class ได้ในปี 2020 จากสถาบัน JIPM (The Japan Institute of Plant Maintenance) ประเทศญี่ปุ่น และยังคงปรับปรุงการดำเนินงานของเราต่อไปด้วยระบบ TPM เพื่อรักษาระดับผลงานระดับโลก 

บรรลุรางวัล TPM ทั้ง 5 ระดับ 
  • ระดับ Excellence Award ในปี 2008
  • ระดับ Consistency Award ในปี 2010 
  • ระดับ Special Award ในปี 2012 
  • ระดับ Advanced Special Award ในปี 2017
  • ระดับ World Class ในปี 2020

3.2. ประโยชน์ที่ได้รับ

TPM ได้รับการบูรณาการและช่วยปรับปรุงระบบการจัดการความปลอดภัย คุณภาพ และสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ของเรา ระบบการจัดการแบบบูรณาการที่ยอดเยี่ยมนี้ทำให้บริษัทของเราบรรลุ ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมดังต่อไปนี้

1. ผลลัพธ์ทางตรง
  • บรรลุ 7 ปีติดต่อกันโดยปลอดอุบัติเหตุถึงขั้นหยุดทำงาน 
  • เวลาหยุดทำงานของเครื่องจักรลดลงจาก 0.94% (ปี 2548) เป็น 0.28% (ปี 2561) (ลดลง 0.66%) 
  • ค่าเฉลี่ยการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ดี (Average Prime Yield) เพิ่มขึ้นจาก 89.3% (ปี 2548)  เป็น 95.4% (ปี 2561) (ดีขึ้น 6.1%)
  • บรรลุประสิทธิผลโดยรวมของอุปกรณ์ (OEE) ของกระบวนการผลิตหลัก > 90% 
2. ผลลัพธ์ทางอ้อม
  • จูงใจให้พนักงานมีส่วนร่วมและสนับสนุนซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่อง เช่น 'ทีม NS-SUS' เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ท้าทาย 'อุบัติเหตุเป็นศูนย์', 'ของเสียเป็นศูนย์' และ 'เครื่องจักรเสียเป็นศูนย์' 
  • เพิ่มพูนความรู้และทักษะของพนักงานในการทำงานพื้นฐานของเครื่องจักร เทคนิคการบำรุงรักษาและการวิเคราะห์การแก้ปัญหา
  • สร้างสถานที่ทำงานที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และมีความสุข 
  • ปรับบรรยากาศการทำงานให้ดีขึ้น 

เราเชื่อมั่นอย่างมั่นใจว่าวิธีการที่ยอดเยี่ยมของ TPM จะทำให้บริษัทของเราบรรลุวิสัยทัศน์ ‘เป็นผู้ผลิตเหล็กที่มีความสามารถในการแข่งขันอันดับ 1 ของเอเชีย’ (Asia No.1 Competitive Mill) ได้

3.3. กุญแจสู่ความเป็นเลิศด้านการผลิตของเรา 

    • ความมุ่งมั่นและการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงเพื่อเพิ่มความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยการปรับปรุงความปลอดภัย คุณภาพ และความรับผิดชอบต่อสังคม
    • การทำงานร่วมกันระหว่างพนักงานและลูกค้าที่มีแรงจูงใจสูงผ่านการจัดการห่วงโซ่อุปทาน 
    • นโยบายการพัฒนาบุคลากรที่เข้มแข็งและมีความสำคัญ 
    • มีพื้นฐานเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย รวมถึงความรู้ที่แท้จริงและความรู้ที่ถ่ายทอดจาก Nippon Steel Corporation ประเทศญี่ปุ่น

3.4. แคมเปญ TPM 

บริษัทได้จัดกิจกรรม และรางวัลต่างๆ เพื่อเป็นการสื่อสาร และการส่งเสริมให้พนักงานพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ทั้งแบบจากระดับบนลงสู่ระดับล่าง (Top-Down) และจากระดับล่างสู่ ระดับบน (Bottom-Up) ตัวอย่างเช่น 

ผู้บริหารระดับสูงเยี่ยมชมกิจกรรมที่หน้างาน

เพื่อส่งเสริมการทำงานของพนักงานหน้างาน โดยการเยี่ยมชมเพื่อดูความคืบหน้าของกิจกรรม TPM

President Award

เพื่อส่งเสริมและยกย่องพนักงานที่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างโดดเด่นหรือสร้างคุณูปการให้บริษัท

TPM Day

เพื่อส่งเสริม / แสดงและแบ่งปันหัวข้อกิจกรรม TPM ในระหว่างปี โดยเน้นการมีส่วนร่วมระดับกลุ่มย่อย

New Record Award & Consistency Achieving Award

เพื่อส่งเสริมให้พนักงานทำงานด้วยผลงานสูงสุดและการทำงานเป็นทีมที่ดีที่สุด ส่งเสริม "รางวัลสถิติใหม่" และ "รางวัลความสำเร็จที่สม่ำเสมอ"

Outstanding Kaizen (Office Improvement Pillar)

เพื่อส่งเสริมให้พนักงานพัฒนาและปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง

ประกวด 5ส. สำนักงาน

เพื่อส่งเสริมกิจกรรม 5ส. การปรับปรุงงาน (Kaizen) ลดการสูญเสียและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานในสำนักงาน

Outstanding RPA & Tableau Contest

เพื่อยกระดับประสิทธิภาพพนักงานเพื่อปรับปรุงกระบวนการอัตโนมัติโดยการประยุกต์ใช้ RPA & Tableau เช่น การลดเวลา / กระบวนการ การลดข้อผิดพลาดของมนุษย์ หรือการ ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน

Award & Certificate 

ตามวิสัยทัศน์ “Become the leading steel provider for a better life with advanced technologies and innovations” ภายใต้ระบบการจัดการสมัยใหม่ โดยให้ความสำคัญกับความปลอดภัย คุณภาพ การเพิ่มผลิตภาพ การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์พลังงาน ความรับผิดชอบต่อสังคม การบริหารจัดการวัตถุดิบ และการส่งมอบตรงเวลา เพื่อยกระดับความพึงพอใจของลูกค้า นอกจากนี้ บริษัทยังได้รับการรับรองมาตรฐานต่างๆ และได้รับรางวัลดังต่อไปนี้: 

Standards

IATF 16949 & ISO 9001

ระบบบริหารงานคุณภาพ

ISO 14001

ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม

ISO 45001

ระบบจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 

    2543, 2553 - ประเภทการบริหารความปลอดภัย
    2548, 2556 - ประเภทการเพิ่มผลผลิต
    2549, 2558 - ประเภทการบริหารงานคุณภาพ
    2550, 2567 - ประเภทการจัดการพลังงาน
    2551, 2557 - ประเภทการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
    2552 - ประเภทการจัดการโลจิสติกส์

รางวัล TPM จากสถาบัน JIPM (Japan Institute of Plant Maintenance) ประเทศญี่ปุ่น 

    2551 - รางวัล TPM Excellence Category A 
    2553 - รางวัล TPM Excellence in Consistent TPM Commitment
    2555 - รางวัล Special Award for TPM Achievement 
    2560 - รางวัล Advanced Special Award for TPM Achievement
    2563 - รางวัล Award for World-class TPM Achievement

ประกาศนียบัตรด้านสิ่งแวดล้อม 

    2555-2559, 2564-2566 - ธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม (Green Star) ธงขาวดาวเขียว สำหรับโรงงาน 1
    2565 - อุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 2 ปฏิบัติการสีเขียว (Green Activity) สำหรับโรงงาน 2
    2557, 2562, 2565 - อุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 3 ระบบสีเขียว (Green System) สำหรับโรงงาน 1
    2558 - คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization: CFO) สำหรับโรงงาน 1
    2562 - อุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 3 ระบบสีเขียว (Green System) สำหรับโรงงาน 2
    2565 - อุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 3 ระบบสีเขียว (Green System) สำหรับโรงงาน 3
    2565 - คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization: CFO) สำหรับโรงงาน 2
    2566 - ธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม (Green Star) ธงขาวดาวเขียว สำหรับโรงงาน 2
    2566 - ธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม (Green Star) ธงขาวดาวเขียว สำหรับโรงงาน 3
    2566 - ธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม (Gold Star) ธงขาวดาวทอง สำหรับโรงงาน 3
    2566 - คาร์บอนฟุตพริ้นท์สำหรับผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint for Products: CFP) สำหรับโรงงาน 1

รางวัลอื่นๆ 

    2545 - เหล็กแผ่นรีดเย็นสำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์รายแรกของประเทศ
    2545 - รางวัลการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    2546 - โรงงานสีขาว จากกระทรวงแรงงาน
    2547 - สถานประกอบการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์
    2551 - รางวัลดีเด่นด้านการอนุรักษ์พลังงาน ประเภทโรงงานควบคุม จากกระทรวงพลังงาน
    2554 - มาตรฐานความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคม (CSR-DIW Award)
    2555-2566, 2563-2566-2567 - มาตรฐานความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง (CSR-DIW Continuous Award)
    2556 - รางวัลส่งเสริม Eco Symbiosis (นิคมฯ โรงงาน ชุมชน)
    2557 - รางวัล Eco for Life
    2566-2567 - รางวัลสถานประกอบการ ปลอดโรคปลอดภัย กายใจเป็นสุข ระดับประเทศ
    2567 - Global KAIZEN Award